วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

น้ำพริกของคนรุ่นใหม่

วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ จากการวิจัยพบว่า คนส่วนใหญ่ต้องใช้เวลานอกบ้านมากขึ้น และมีเวลาในการเข้าครัวปรุงอาหารน้อยลง โดยเฉพาะเรื่องของการปรุงน้ำพริก ที่ต้องมีส่วนผสมมากมาย และใช้เวลามาก ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อ "น้ำพริก" ที่ทำสำเร็จรูปมากกว่า

ในตลาดบ้านเรา น้ำพริกสำเร็จรูปแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. น้ำพริกในกาละมังที่แม่ค้าปรุงเสร็จ แล้วตักใส่ถุงสำหรับจำหน่าย
2. น้ำพริกที่ปรุงสำเร็จบรรจุใส่ขวดใส
3. น้ำพริก ทรงกระปุก ที่มีรสชาติต่างๆ ให้เลือก

ปัญหาที่พบจากการจำหน่ายน้ำพริกสำเร็จรูปข้างต้นก็คือเรื่องของ "รสชาติ" และ "อายุการเก็บรักษา" การรับประทานน้ำพริกที่ตักใส่ถุงปรุงสดๆ นั้น ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ส่วนน้ำพริกที่ใส่ขวด และกระปุก เมื่อรับประทานไม่หมด อากาศ, ความชื้นเข้าไปก็มีผลต่อรสชาติของน้ำพริก

"แซ่บ.....ซี้ด" จึงเป็นทางออกใหม่ของ "น้ำพริกสำเร็จรูป" ด้วยคุณสมบัติบรรจุอยู่ในกล่องขนาดเล็ก ถูกสุขอนามัย ขนาดพอดีมื้อ และมีอายุการเก็บรักษารสชาติได้นาน (หากยังไม่มีการเปิดผนึก) ด้วยรูปลักษณ์ การออกแบบที่ทันสมัย จึงเหมาะสำหรับ พกพาเพื่อเดินทางไปปิคนิก, หรือช่วยเสริมรสชาติความอร่อย สำหรับ อาหารขบเคี้ยวต่างๆ เช่น แคปหมู, ข้าวเกรียบ ฯลฯ

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามและเป็นผู้แทนจำหน่ายได้ที่ โทร 081 -394 5711

“กำปั่น” จุดเปลี่ยนร้านท่องเที่ยวอัมพวา

ดิฉัน และคุณพีรวงศ์ จาตุรงคกุล เจ้าของร้านกำปั่น ยอดนิยม แห่งอัมพวา






ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยและตลาดน้ำ ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก จากนักท่องเที่ยวเพราะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก

วันนี้ "อัมพวา" เป็นที่รู้จักไปไกลถึงต่างแดน และส่วน หนึ่งที่ช่วยเติมเต็มให้กับอัมพวาในวันนี้ ที่คงจะปฏิเสธไม่ได้ ก็คือ ร้านค้าที่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งบนบกและในน้ำที่สามารถจัดร้านและนำสินค้าที่โดนใจออกมาขายให้กับเหล่านักท่องเที่ยวได้ทั้งช็อป ทั้งชิมกันอย่างเพลิดเพลิน
หนึ่งในนั้นก็คือ ร้านกำปั่น ที่ใครหลายคนเดินผ่านร้านนี้ก็อดไม่ได้จะขอแวะเวียนเข้ามาชื่นชมภายในร้านแม้ว่าจะซื้อไอศกรีมเพียงแท่งเดียวก็ตาม ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ที่ เจ้าของร้าน เพราะต้องการเห็นนักท่องเที่ยวได้เข้ามาชมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก แม้ว่าจะไม่ได้ซื้ออะไรก็ตาม



คุณพีรวงศ์ จาตุรงคกุล เจ้าของร้านกำปั่น เล่าถึงที่มาของร้านกำปั่น ว่าเกิดขึ้นมาจากตนเองทำงานในตำแหน่งผู้บริหารของบริษัทอุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด และได้มีโอกาสเข้ามาทำวิจัยเกี่ยวกับขนมไทยที่อัมพวา มานานกว่า 3 ปี พบว่าผู้ประกอบการในท้องถิ่นมีขนมไทยที่ดีและน่าสนับสนุน ตนต้องการให้ชาวบ้านได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ โดยการสร้างแบรนด์ หรือบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการเป็นของฝากได้ เพราะสิ่งที่อยู่กับสถานที่ท่องเที่ยวคือ "ของฝาก"

ห้วงเวลาดังกล่าว ตนยังไม่สามารถเปลี่ยนแนวคิดของพ่อค้าแม่ค้าที่อัมพวาได้ เพราะไม่มีใครยอมที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร จึงเกิดความคิดว่าน่าจะเปิดร้านสักร้านและนำขนมที่ได้พัฒนาแล้วมาวางจำหน่าย และจัดร้านให้ดูดีและน่าสนใจ มีอาหาร เครื่องดื่ม ของฝากจำหน่ายอยู่ภายในร้าน เพราะเชื่อว่าถ้าร้านกำปั่นได้รับความสนใจจะต้องมีผู้ต้องการทำตามอย่างแน่นอน

โดยรูปแบบของร้านจะเป็นการผสมผสานกับความหลากหลายของชุมชนท้องถิ่น กับความทันสมัย สะดวกสบาย ซึ่งอาหารที่จำหน่ายภายในร้านจะคัดเลือกอาหารที่ขึ้นชื่อของอัมพวามาพัฒนาต่อยอด เช่น อัมพวาขึ้นชื่อเรื่องปลาทู ก็จะมีน้ำพริกสูตรชาววังโบราณมาขายคู่กับปลาทู และนำมาเป็นอาหารจานเด็ดของทางร้าน

นอกจากนี้ ทางร้านยังมีเครื่องดื่มน้ำอัดลมโบราณสิ่งที่ทางร้านภูมิใจนำเสนออย่างมาก เพราะเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลมโบราณ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ที่ทุกคนเริ่มรู้จักกันบ้างแล้ว ในชื่อของน้ำมะเน็ดไทย หรือ น้ำลามิเน็ตที่ฝรั่งอยู่จัก โดยเป็นน้ำอัดลมที่ใช้การอัดแก๊สคาร์บอเนตที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีผสมด้วยหัวเชื่อที่เรียกว่า ฟรุตโตส ที่ไม่มีความหวานสะสม สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถรับประทานได้

คุณพีรวงศ์ กล่าว่า ต้องการทำร้านแห่งนี้ให้เป็นร้านตัวอย่างของการรวมตัวกันของผู้ประกอบการในลักษณะที่เรียกว่า คลัสเตอร์ โดยภายในร้าน จะมีสินค้าจากผู้ประกอบการจากหลายๆแห่งเกือบทุกภาคมาจำหน่าย อาทิ ขนม มาจากผู้ประกอบการ 8-10 ราย และ ในสินค้าอื่นๆอีก รวมภายในร้านมีสินค้ามาจากผู้ประกอบการกว่า 30 ราย โดยร้านแห่งนี้จะเป็นร้านต้นแบบ และทุกคนสามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้ โดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยวเป็นการยกระดับร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง รองรับกลุ่มลูกค้าในระดับ บี ขึ้นไป หรือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยนำเอาคอนเซ็ปต์ความหลากหลายชุมชนท้องถิ่นเข้ามาเล่นด้วย เพราะสิ่งที่นักท่องเที่ยว ต้องการจะเห็นคือ วิถีชีวิต อาหารการกินแบบดั้งเดิมภายในชุมชน

สำหรับร้านกำปั่น คุณพีรวงศ์ ยอมควักกระเป๋าร่วมกับครอบครัวไปจำนวนกว่า 1 ล้านบาท ในครั้งแรกไม่ได้คาดหวังอะไรเพียงแค่ต้องการมีร้านที่มีบรรยากาศดี และเห็นนักท่องเที่ยวได้แวะเวียนเข้ามาชื่นชม หรือมาถ่ายภาพในร้าน แต่ผลตอบรับเกินคาด มีนักท่องเที่ยวเข้ามาทานอาหารและซื้อของภายในร้านเพิ่มขึ้นเรื่อย จากที่เปิดให้บริการมา 4 เดือน “นอกจากความสำเร็จในเรื่องยอดขาย สิ่งที่เราได้มากกว่านั้น ในฐานะที่เราเป็นผู้บริหารอุตสาหกรรมขนมไทย คือ การได้เห็นชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้า บางรายมีการเปลี่ยนแปลงตามเรา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ หรือการสร้างตราสินค้าของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องการและคาดหวังจะให้เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นเปิดร้าน โดยสิ่งที่ขายไม่กระทบกับชาวบ้านและชุมชน และสามารถชี้นำชุมชนให้ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อได้”

ข้อมูลเรียบเรียงจาก http://blog.spu.ac.th/FutureCareer/2008/01/28/entry-14